แชร์

How to ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในแบบฉบับพยาบาลวิชาชีพ

อัพเดทล่าสุด: 31 ส.ค. 2023
379 ผู้เข้าชม

รู้หรือไม่!? ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยในลักษณะใด
ผู้ป่วยติดเตียง ภาษาอังกฤษ bedridden patients ทางการแพทย์ได้ให้คำนิยามว่าผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสภาวะร่างกายเสื่อมโทรมและต้องตกอยู่ในภาวะที่จำเป็นจะต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา แม้ว่าอาจขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือช่วยเองได้ 

ที่มาและสาเหตุผู้ป่วยติดเตียง
สำหรับสาเหตุที่ทำให้คนที่มีร่างกายปกติกลายมาเป็นผู้ป่วยติดเตียงนั้นสามารถเกิดมาได้จากหลายปัจจัย  ยกตัวอย่าง เช่น

การประสบอุบัติเหตุ อาทิ รถชน หรือจากการใช้เครื่องจักรในการทำงานต่างๆ
การผ่าตัดใหญ่ จนอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทในร่างกาย
โรคประจำตัว ที่อาจส่งผลให้ร่างกายทรุดลง
 


ผู้ป่วยติดเตียงมีกี่ประเภท

ผู้ป่วยติดเตียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ได้ ดังนี้

1. ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังคงรู้สึกตัว แต่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ผู้ป่วยติดเตียงประเภทนี้ ยังมีความสามารถในการขยับตัว เคลื่อนไหวได้บ้างเล็กน้อย แต่จำเป็นจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่นอย่างเต็มรูปแบบ 100%

2. ผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียความรู้สึกทางกาย (เจ้าหญิงนิทรา)
ผู้ป่วยติดเตียงประเภทนี้ ถือเป็นผู้ป่วยติดเตียงอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นจะต้องพึ่งพาผู้อื่นอย่างเต็มรูปแบบ 100%

ผู้ป่วยติดเตียง อาการที่มักจะต้องพบเจอ

ผู้ป่วยติดเตียง อาการมักตกอยู่ในภาวะ Deliruim เป็นภาวะสับสน เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีภาวะสมองเสื่อม หรืออาจเคยเป็นผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบมาก่อน มีผลต่อเนื่องมาทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ทำให้เกิดอาการ ดังต่อไปนี้

ด้านอารมณ์ อาจโมโห หงุดหงิดได้ง่าย ในบางคนอาจมีอาการก้าวร้าวขึ้น
ด้านความคิด อาจมีอาการขี้หลงขี้ลืม ไม่สามารถจำวันเวลาได้ หรือถามคำถามเดิมบ่อย ๆ
อื่น ๆ อาทิ อาจมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม บางครั้งพูดคนเดียว หรืออาจมีอาหารหูแว่ว เห็นภาพหลอน ซึ่งเป็นอาการทางสมองที่ตัวผู้ป่วยเองไม่ได้ตั้งใจที่จะแสดงออกมาเช่นนั้น ดังนั้นจึงต้องการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีความเข้าใจและรู้วิธีดูแลรับมืออย่างถูกต้อง
 


 

How to ดูแลผู้ป่วยติดเตียง คนเดียวก็สามารถทำได้

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าผู้ป่วยติดเตียง การดูแลในแบบฉบับพยาบาลวิชาชีพจะต้องทำอย่างไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาให้ศึกษาและปฎิบัติตาม ดังนี้

วิธีการเช็ดตัวผู้ป่วยติดเตียง
เตรียมอุปกรณ์ ได้แก่
กะละมัง 2 ใบ
ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน สำหรับแยกส่วนบนและล่าง
ผ้าสำหรับซับแห้ง 2 ผืน
เสื้อผ้าชุดใหม่
ผ้าคลุมตัว

ขั้นตอน มีดังนี้

1. ประเมินสภาพอาการผู้ป่วยติดเตียง และบอกให้ทราบว่ากำลังจะเช็ดตัวให้

2. ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อม ปิดแอร์ ปิดม่านใทำห้สถานที่มีความมิดชิด

3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องล้างมือของตนเองให้สะอาด

4. ใช้ผ้าคลุมลำตัวถึงลำคอ แล้วจึงถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก กรณีที่ผู้ป่วยมีแผลบาดเจ็บแขนด้านใด ให้ถอดเสื้อผ้าแขนด้านที่ไม่มีแผลออกก่อน

5. ทำความสะอาดช่องปากแและฟัน ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถทำได้เอง โดยใช้ผ้าก็อตพันนิ้วเพื่อใช้ทำความสะอาดช่องปากให้ผู้ป่วย

6. เริ่มเช็ดด้วยโดยใช้น้ำในอุณหภูมิห้องใส่ ⅔ ของกะละมัง แล้วจึงใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ถ้าผ้าผืนใหญ่ก็เอามาเก็บชาย เพื่อไม่ให้โดนตัว

7. เริ่มเช็ดตัวผู้ป่วยจากใบหน้าลงมาลำคอ แล้วจึงเช็ดตัวบริเวณส่วนบน ผ่านการเปิดผ้าคลุมเฉพาะส่วน เช็ดบริเวณหน้าอก ลงมาช่วงท้อง เช็ดแขนฝั่งไกลตัวเข้ามาหาใกล้ตัว เพื่อไม่ให้นน้ำหยดลงบนแขนฝั่งที่เช็ดแล้ว 

8. เช็ดตัวบริเวณส่วนล่าง เช็ดขาด้านไกลตัวมาใกล้ตัว

9. เช็ดทำความสะอาดอวัยเพศ หากเป็นผู้หญิงเน้นการเปิดจุดซ่อนเร้น

10. เช็ดตัวบริเวณด้านหลัง โดยการตะแคงตัวผู้ป่วยเข้าหาผู้ดูแล การเช็ดเริ่มจากลำคอลงมาแผ่นหลังและสะโพก เสร็จแล้วจึงเช็ดขาด้านหลัง

11. เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ และอาจเปลี่ยนผ้าปูที่นอนใหม่ตามความเหมาะสม

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงถ่ายบ่อย

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

จัดชุดจานชามแยกให้มิดชิด 
เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยติดเตียงท้องเสีย จะต้องป้องกันดูแลความสะอาดมากกว่าคนปกติไม่ว่าเป็นการให้อาหารทางปากหรือสายยาง

ดูแลไม่ให้ขาดน้ำ ขาดเกลือแร่
เพื่อป้องกันภาวะช็อกที่เกิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ผู้ดูแลควรดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำ 2 – 2.5 ลิตร ตลอดจนชงเกลือแร่ให้ผู้ป่วยดื่ม เพื่อชดเชยน้ำที่ออกมาจากอุจจาระ

ดูแลไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร 
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาถ่ายหรือยาเหน็บในผู้ป่วยที่ท้องผูก และดูแลให้ร่างกายได้รับอาหารที่มีกากใยสูง อาทิ ผักกาด, ผลไม้ มะละกอสุก

ดูแลเช็ดทำความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะ
เนื่องจากอุจจาระ ปัสสาวะอาจกัดเนื้อผิวหนังผู้ป่วย ทำให้เกิดโอกาสที่จะเป็นแผลกดทับบริเวณก้นได้ จึงควรเช็ดทำความสะอาดอย่างดี 

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง ท้องบวม
สาเหตุ
ผู้ป่วยติดเตียง ท้องบวม ท้องป่อง แล้วมีเสียงดัง สาเหตุมาจากอาการท้องผูก ไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกันหลายวัน เนื่องจากการขยับตัวเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ ทำให้ลำไส้ไม่ได้บีบตัว และสาเหตุอาจมาจากการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ทำให้ร่างกายได้รับน้ำน้อย หรือเกิดความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจึงจำเป็นที่จะต้องรีบแก้ไข 

วิธีดูแล
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ลิตร
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาถ่ายหรือยาเหน็บ
ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจต้องพาผู้ป่วยไปหาหมอโดยไว ถ้ายังพบว่าผู้ป่วยไม่ถ่าย และมีก้อนภายในท้อง หรือท้องป่องกว่าปกติ
 

สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ปัญหาผู้ป่วยติดเตียงที่พบ มักพบปัญหาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยและปัญหาในผู้ดูแล ซึ่งอาจมีความเครียด วิตกกังวล สภาพร่างกายไม่ไหว ต้องแบกรับภาระหนัก ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ตลอดจนปัญหาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อสิ่งของอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นจำเป็นจะต้องรู้และระมัดระวังสิ่งต่อไปนี้

1. ระมัดระวังเรื่องการแบ่งหน้าที่
อย่าให้หน้าที่ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงเป็นของใครคนใดคนหนึ่งตลอดเวลา ควรแบ่งหน้าที่ให้คนในครอบครัวมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าเรื่องค่าใช้จ่ายหรือการพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ หากมีงบประมาณก็อาจจ้างผู้ดูแลชั่วคราวได้ เพื่อให้ตนเองสามารถมีเวลาไปพักผ่อนหรือทำธุระส่วนตัวได้บ้าง

2. ระมัดระวังเรื่องสภาพจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังรับรู้เข้าใจ แต่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือได้น้อย ผู้ดูแลจะต้องมีการพูดคุยให้เข้าใจสภาพปัญหาผ่านการให้กำลังใจผู้ป่วยติดเตียงอย่างสม่ำเสมอ และช่วยลดความเครียดที่จะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลเอง อาจฟังเพลง ฟังธรรมะเพื่อผ่อนคลาย

3. ระมัดระวังภาวะแทรกซ้อน
ผู้ดูแลผู้แลผู้ป่วยติดเตียงจะต้องดูแลในเรื่องของแผลกดทับ การสำลักอาหาร ข้อติด กล้ามเนื้อลีบฝ่อ

นอกจากนี้ควรประสานความช่วยเหลือไปยังอสม. หรือหน่วยงานพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้าน เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือการรักษาตามนัด และอย่างที่กล่าวไปในเบื้องต้นว่า แม้ญาติเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงเอง แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลก็จำเป็นที่จะต้องมีเวลาส่วนตัวเป็นของตนเอง 


บทความที่เกี่ยวข้อง
จับสังเกตอาการแรกเริ่มเส้นเลือดในสมองตีบที่เราต้องระวัง!
ด้วยโรคหลอดเลือดในสมองตีบ หรือ stroke เป็นโรคที่อันตรายเปรียบเสมือนภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คน บทความของเราจึงหยิบเอาอาการเส้นเลือดในสมองตีบมาอธิบายให้ทุกคนได้อ่านและนำไปสังเกต ทำความเข้าใจอาการสโตรก รู้ว่า stroke คืออะไร ischemic stoke คืออะไร เมื่อมีความรู้และเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ในเบื้องต้นแล้ว จึงจะสามารถดูแลทั้งตนเองและคนรอบข้างที่คุณรักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
23 ต.ค. 2024
How to ดูแลผู้สูงอายุด้วย 10 วิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
สังคมไทยวันนี้กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลจากสักนักงาน กพ. (OCSC) พบว่าประชากรผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในไทย มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 10 มาแล้ว ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2548 ปัจจุบันปีพุทธศักราช 2566 ก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เพราะมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อย 20 ของประชากรทั้งประเทศ
21 ต.ค. 2024
แนะนำวิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบแบบฉบับคุณหมอ!
ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบไม่ใช่โรคที่ห่างไกลตัว เราทุกคนย่อมเกิดอาการเหล่านี้ได้ สิ่งสำคัญคือกการศึกษาวิธีการดูแลฟื้นฟูตนเองหรือคนในครอบครัวที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบอย่างถูกวิธีตามแบบฉบับที่แพทย์แนะนำ ตั้งแต่การศึกษาว่าเส้นเลือดในสมองตีบ อาการเริ่มแรกเป็นอย่างไร ในกลุ่มคนที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ กรรมพันธุ์มีความเกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่ และเมื่อพบว่าตนเองหรือคนที่ดูแลเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ อาหารที่ควรเลือกรับประทานแบบไหนจึงจะมีความเหมาะสม ตลอดจนเส้นเลือดในสมองตีบ การพยาบาลที่ดี ตลอดเส้นเลือดในสมองตีบ กายภาพบําบัดที่เหมาะสมจะต้องปฏิบัติอย่างไร
20 ต.ค. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy