Share

How to ดูแลผู้สูงอายุด้วย 10 วิธีที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

Last updated: 21 Oct 2024
400 Views

ดังนั้นประชากรในรุ่นปัจจุบันหรือคนรุ่นใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของวิธีดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้อง โดยบทความของเราจะทำให้ทุกคนเข้าใจตั้งแต่นิยามว่าการดูแลผู้สูงอายุคืออะไร การดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ด้วย 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ และการดูแลตามหลักดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ. จะต้องทำอย่างไรบ้าง และในกรณีที่พบปัญหา อาทิ การดูแลผู้สูงอายุเบื่ออาหารจะต้องทำอย่างไร หรือกรณีที่ต้องเลือกศูนย์ดูแลผู้สูงอายุควรเลือกที่ใด โดยปกติแล้วการรับจ้างดูแลผู้สูงอายุ รายวันมีราคาค่าจ้างอย่างไร ทุกเรื่องทุกข้อสงสัย เราได้รวบรวมเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้มาแชร์ตอบเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมเรียนรู้รับทราบไปพร้อมกัน

ดูแลผู้สูงอายุ คืออะไร
การดูแลผู้สูงอายุ คือการดูแลบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปตั้งแต่ด้านของสุขภาพกาย สุขภาพใจ การจัดสวัสดิการและบริการ รวมทั้งที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ป้องกันโรคเรื้อรัง และยืดระยะเวลาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงให้ช้าที่สุด 

จุดประสงค์ของการดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุตามบ้านหรือสถานที่ซึ่งรับดูแลผู้สูงอายุ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการจะให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะดำรงอยู่ประจำวันได้อย่างมีความสุข มีอิสระที่จะใช้ชีวิตได้ตามที่ตัวเองต้องการ แม้จะอยู่ในสภาวะที่สภาพร่างกายมีความเสื่อมถอยลงไป หรือแม้ในบางท่านจะต้องพบกับภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังก็ตาม ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเองก็จะต้องมีการปรับการดูแลให้มีความเหมาะสม ให้ผู้สูงอายุพึ่งพาบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผู้สูงอายุเองมีความสุขกายและสบายใจในช่วงบั้นปลายของชีวิตนั้นเอง

 
ดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ.

หลักการดูแลผู้สูงอายุตามหลัก 8 อ. เป็นหลักการที่ผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในการดูแลตัวเอง เพื่อให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี จิตใจแจ่มใส เป็นที่รักของลูกหลานคนรอบข้างและมีความสุขได้ ดังนี้

1. อาหาร
ผู้สูงอายุจะต้องลดพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมัน สำหรับโปรตีนควรเลือกรับประทานจากประเภทของเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย อาทิ ปลา รวมถึงไข่ขาว ในส่วนของไข่แดงสามารถรับประทานได้ โดยแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเกินจำนวน 3 ฟอง ควรที่จะหันมารับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น โดยจะต้องเป็นกลุ่มของผลไม้ที่ไม่มีรสชาติหวานจัด

2. อนามัย
ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตการทำงานของร่างกาย และลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

3. ออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุควรที่จะออกกำลังกายต่อสัปดาห์ให้ได้จำนวน 3 – 4 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพร่างกายมีความแข็งแรง

4. อุจจาระ ปัสสาวะ
ผู้สูงอายุหากพบว่าตัวเองเริ่มขับถ่ายยาก หรือไม่สามารถกลั้นการขับถ่ายได้ ควรรีบไปพบแพทย์

5. อากาศและแสงอาทิตย์
ผู้สูงอายุควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ และควรที่จะได้รับแสงแดดบ้าง

6. อารมณ์
ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์แปรปรวนเปลี่ยนแปลงง่าย จึงควรที่จะหาวิธีหรือกิจกรรมที่เข้ามาช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น ออกกำลังกาย ฟังเพลง ศึกษาธรรมะเพื่อให้มีสติ สมาธิ และรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น

7. อุบัติเหตุ
ผู้สูงอายุจะต้องระมัดระวังการชีวิตประจำวันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยการปรับสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสม หากเป็นคนที่มีอาการสายตายาวจะต้องใส่แว่นตา 

8. อดิเรก
ผู้สูงอายุควรจะหางานอดิเรกทำ อาทิ อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก เพื่อเพิ่มความสุขใจให้กับตัวเอง ไม่เสียเวลาไปหมกมุ่นกับสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

 
10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไรให้ถูกหลักอนามัย สุขภาพกายและใจดีสมวัย

เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน หรือการดูแลผู้สูงอายุ รายวันเป็นเรื่องที่ได้ง่ายมากขึ้น บุคคลที่รับดูแลผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นลูกหลานของผู้สูงอายุเอง หรือคนที่รับจ้างดูแลผู้สูงอายุ ควรที่จะทราบ 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

1. เรื่องการรับประทานอาหาร
อาหารของผู้สูงอายุควรจะเป็นลักษณะที่มีการช่วยบด สับ ต้มหรือนึ่งให้ โดยคนที่ดูแลผู้สูงอายุจะต้องหมั่นสังเกตช่องปากและฟันของผู้สูงอายุว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ หากมีจะได้พาไปหาหมอได้อย่างทันท่วงที และการดูแลผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ผู้ดูแลอาจพาไปทานข้าวนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศร่วมด้วย

2. การออกกำลังกาย 
ผู้ดูแลสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งตกอยู่ในภาวะเคลื่อนไหวออกกำลังกายไม่สะดวก แล้วอาจจะช่วยในการยกขายกแขน หรือจัดเวลาเพื่อไม่ให้ใช้เวลาในการออกกำลังกายมากจนเกินไป ควรออกกำลังเพียงเท่าที่พอไหว

3. เรื่องสุขวิทยา 
ผู้สูงอายุบางคนอาจอยู่ในภาวะที่ติดบุหรี่หรือทานเหล้า ผู้ดูแลจะต้องพยายามแนะนำให้ลด ละ เลิก เพื่อจำกัดสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้สุขภาพแย่ลง

4. เรื่องการขับถ่าย 
ในผู้สูงอายุมักจะพบว่าส่วนใหญ่มีการปัสสาวะและอุจจาระบ่อยขึ้น ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องช่วยสังเกตว่าในแต่วันมีการขับถ่ายน้อยหรือมากเกินไป การขับถ่ายมีความผิดปกติอะไรหรือไม่

5. เรื่องความสะอาด
ในแต่วันผู้ดูแลจะต้องดูว่าผู้สูงอายุอาบน้ำกี่ครั้ง อาบน้ำสะอาดหรือไม่ ตรวจสอบซอกมือ ซอกเล็บ ซอกเท้า หรืออาจช่วยดูแลการแช่มือแช่น้ำแล้วคอยดูว่าหลังจากทำมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นกับร่างกายหรือไม่

6. เรื่องของการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
ผู้ดูแลควรช่วยดูเรื่องของการใช้เครื่องช่วยพยุงหรือไม้เท้าในขณะที่ผู้สูงอายุเดินไปเดินมา สังเกตว่าการเดินของเขามีความผิดปกติหรือไม่

7. เรื่องการรับประทานยา
เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะต้องมียาประจำตัว ผู้ดูแลจึงต้องดูว่ามียาอะไรบ้างที่ต้องช่วยจัดให้ทาน หรือผู้สูงอายุจัดเองได้ถูกต้อง ทานได้ตรงตามเวลาหรือไม่ ตลอดจนการนัดพบแพทย์ ผู้ดูแลจะต้องคอยดูว่าในแต่ครั้งที่ไปพบแพทย์ผู้สูงอายุไปตรงตามเวลาได้หรือไม่ หรือในกรณีที่มีอาการผิดปกติทำให้ต้องไปพบแพทย์ก่อนนัดผู้ดูแลก็สามารถพาไปได้

8. เรื่องสภาพจิตใจ
ผู้ดูแลอาจแนะนำผู้สูงอายุให้มีการปล่อยวางบ้างในบางเรื่อง หรืออาจพาไปทำบุญ ทำกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทางกายและใจ

9. สิ่งแวดล้อมในบ้าน
ลักษณะของบ้าน ที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแลต้องตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุพลัดตกหกล้มหรือไม่ ในห้องน้ำมีสิ่งกีดขวางหรือไม่ พื้นห้องเป็นลักษณะแบบไหน ผู้สูงอายุเดินแล้วมีความมั่นใจในการเดินหรือไม่ ผู้ดูแลจะต้องคอสังเกต

10. ความอบอุ่นในบ้าน
ผู้สูงอายุบางคนอาจจะอยู่คนเดียวอย่างสงบ แต่ในความเป็นจริงการที่ผู้ดูแลพาลูกหลานมาหา มาชวนพูดคุย หรือพาออกไปเที่ยวนอกบ้านบ้างก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากยิ่งขึ้น


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุคืออะไร


ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือ Nursing Home (เนอร์สซิ่งโฮม) เป็นบริการใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในไทย และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเนอร์สซิ่งโฮม หรือที่เรียกอีกชื่อว่าเนอร์สซิ่งโฮมแคร์ เป็นสถานที่สำหรับดูแล ช่วยเหลือ ให้ที่พักฟื้นตั้งแต่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ต้องการพักรักษาตัวระยะสั้น ๆ ไปจนถึงระดับคนพิการ และผู้ป่วยที่ต้องพักฟื้นระยะยาวอย่างผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด


Related Content
Beware of the early signs of a stroke that we need to watch out for!
Stroke, also known as cerebrovascular disease, is a dangerous silent killer. This article highlights the symptoms of a stroke for everyone to read and observe. Understanding the symptoms of a stroke and knowing what it is, as well as ischemic stroke, will enable better self and loved ones' care.
23 Oct 2024
Recommended Methods for Rehabilitating Ischemic Stroke Patients, Doctor's Version!
Ischemic stroke is not a distant disease. Anyone can experience these symptoms. The crucial thing is to learn how to properly care for oneself or a family member diagnosed with ischemic stroke, according to the guidelines recommended by doctors. From understanding the early symptoms of stroke, exploring whether genetics plays a role in the disease, and when diagnosed with a stroke, knowing which foods are suitable, to providing appropriate nursing care and physical therapy for stroke patients.
20 Oct 2023
The Role of Genetics in Stroke: Unraveling the Connection
Stroke, a leading cause of death and disability worldwide, is often associated with factors like age, lifestyle, and underlying health conditions. However, there's another dimension to consider: our genes. This article delves into the intricate relationship between genetics and stroke, shedding light on why some individuals might be more predisposed to this condition than others.
20 Oct 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy